จุดเริ่มต้นของกล้องวงจรปิด
กล้องวงจรปิด หรือ CCTV คำนี้ได้ยินกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะการได้ยินจากข่าวทางทีวี หรือทางหนังสือพิมพ์ คำว่ากล้องวงจรปิดหรือ CCTV ย่อมาจากคำว่า “Closed Circuit Talavision” หรือเรียกอีกอย่างว่า “Video Surveillance System” คือ ระบบการบันทึกภาพจากกล้องที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัย หรือที่ใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์ สถานะการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ระบบกล้องวงจรปิดเริ่มติดตั้งครั้งแรก
ในปี 1942 ในประเทศเยอรมันนี ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งวัตถุประสงค์ในช่วงแรกติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวของขีปนาวุธ V2 จากนั้นในปี 1968 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อสอดส่งดูแล ระแวดระวังเรื่องการก่อการร้าย และจากนั้นมาได้มีการพัฒนาการ กล้องวงจรปิดอย่างต่อเนื่อง และนําไปใช้ในระบบการรักษาความปลอดภัยภายในธนาคาร หรือสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่ามีการนำกล้องวงจรปิดหรือ CCTV ไปใช้ในวงแคบไม่แพร่หลายเหมือนดังเช่นปัจจุบัน
อาจจะเป็นเพราะในยุคนั้น ราคาของกล้องวงจรปิดหรือ CCTV มีราคาแพง สําหรับในด้านคณุภาพของภาพที่ออกมานั้น เมื่อเทียบกับสมัยนี้ต้องนับว่าเป็นภาพขาวดําที่ไม่ชัด ไม่ละเอียด เรียกได้ว่ามีคุณภาพที่่แย่เลยทีเดียว ต่อมาก็มีการพัฒนากล้องวงจรปิดอย่างต่อเนื่อง จวบจนกระทั่งปัจจุบันทําใหเกิดการใช้งาน อย่างแพร่หลายมากขึ้นด้วย สําหรับระบบกล้องวงจรปิด CCTV ก็พัฒนาให้สามารถควบคุมการทางานในระยะไกลได้ภาพที่ได้จากกล้องก็มีสีสัันสวยงามีความละเอียดและความชัดเจนของภาพมากกว่าในอดีต
พื้นฐานและระบบการทำงานของระบบ CCTV
ระบบโทรทัศวงจรปิดCCTV (Closed Circuit Television System) คือระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ถูกจับภาพโดยกล้องวงจรปิด ซึ่งได้ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆมายังส่วนรับภาพซึ่งเรียกว่าจอภาพ(Monitor)เป็นระบบสําหรับใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยหรือใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ
ประโยชน์-การใช้งานระบบโทรทัศน์วงจรปิด
– ด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคคลและสถานที่
– ด้านตรวจสอบการทํางานของเครื่องจักรในโรงงานอตุสหกรรมขนาดใหญ่ ที่ทำงานโดยอัตโนมัติหรือ การทํางานของพนักงาน
– ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมการจราจร เช่นตรวจสอบปริมาณรถยนต์ ฯลฯ
ส่วนประกอบของระบบCCTV
ส่วนประกอบของระบบCCTVแบ่งออกเป็น 3ส่วนคือ
1. ส่วนที่ใช้ส่งสัญญาณภาพ
– กล้อง(Camera), เลนส์(Lens)
2. ส่วนที่ใช้เชื่อมต่อ
– สายเคเบิลทําหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณภาพระหว่างกล้องกับ Monitor
– เครื่องบันทึก DVR ทําหน้าที่เก็บข้อมูลและส่งสัญญาณข้อมูลที่บันทึกไปยังส่วนแสดงผล
3. ส่วนที่ใช้รับสัญญาณภาพ
– จอมอนิเตอร์ซึ่งทําหน้าที่เป็นตัวแสดงผล
ชนิดของกล้องวงจรปิด
กล้อง Box หรืือกล้องกระบอก
– สามารถเปลี่ยน Lens ได้ตามมุมและลักษณะการใช้งาน
– ต้องติดยึดกับขายึดกล้องหรือใส่ไว้ภายในเคสเพื่อติดตั้งภายนอกอาคาร
กล้องโดม
– ขนาดเล็กกะทัดรัดติดตั้งง่ายดูแลรักษาง่าย
– กล้องโดมช่วยไม่ให้รู้สึกอึดอัดว่ากล้องจับภาพอยู่ที่มุมใด เนื่องจากมีเคสท์ที่ช่วยให้ไม่มองเห็นว่าเลนส์ จับภาพอยู่ที่มุมใด
กล้องอินฟาเรด
– สามารถมองเห็นภาพได้แม้ในที่มืดสนิท
– ใช้วัสดุที่แข็งแรงสามารถติดตั้งภายนอกอาคารได้
– สามารถกันฝุ่น,ละอองน้ำได้ทำความสะอาดง่าย
กล้อง PTZ หรือ SpeedDome
-กล้องหมุนปรับทิศได้สามารถที่จะปรับให้หมุนซ้าย/ขวา,ก้ม‐เงิยได้ (Pand Tilt unit) และสามารถปรับZoomได้
กล้อง IP
– IP Camera เป็นกล้องวงจรปิดประเภทหนึ่งที่สามารถดูภาพได้ เลยโดยการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายโดยตรง โดยไม่ต้องใช้เครื่องบันทึก แต่ถ้าต้องการบันทึก ต้องติดตั้งไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ชนิดของ CHIP
CHIP เปรียบเสมือนฉากรับภาพ ทําหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าแบงได้ 2 ชนิดคือ
1.CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device เป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซลจะทําหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรและเปลี่ยนสัญญาณอนาลอคเป็นสัญญารดิจิตอลอีกที
– เป็น chip ที่มีคุณภาพดีสามารถใช้ได้แม้มีปริมาณแสงน้อย
– มีresolution ประมาณ 512H*582V(290K/sqr.in.)
– ผลิตที่ญี่ปุ่น
2. CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็นสัญญาณดิจตอลในทันทีไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD
– เป็น chip ที่ต้องใช้ปริมาณแสงมากกว่า CCD ในการที่จะให้ความคมชัดเท่าๆกันดังนั้น Chip แบบ CMOS จึงเหมาะที่จะใช้กับกล้องขาว-ดำ CMOS ที่ใช้ประมาณแสงน้อยในการสร้างภาพ มีความคมชดสูง
– มีresolution ประมาณ628Hx 582V (330K/Sqr.in., Hi-Resolution)
– ผลิตที่อเมริกา, จีน
CCD BRAND
CHIP แบบ CCD จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิตดังนี้
SONY : คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีอบอุ่น เช่นแสงสีแดง เหลือง ชิป Sony มีหลายรุ่นเช่น Super HAD, Exview
PANASONIC :คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีเย็น เช๋นสี่ฟ้า น้ำเงิน ส่วนสีอย่างสีแดงจะหม่นจนกลายเป็นสีม่วง
SHARP : คุณภาพปานกลางภาพที่ได้จะคมสู้ SONY,PANASONIC ไม่ได้ ถ้าแสงปกติภาพจะสวยดี ที่แสงน้อยภาพอาจขึ้น SNOW เร็ว
SAMSUNG : นําเข้ามาเฉพาะชิปขาว‐ดําให้ ภาพสว่างสดใส
ผลสรุุป
CMOS จะมีวงจรแปลงสัญญาณแสงในแต่ละพิกเซลเลย ส่วน CCD ตัวรับแสงจะรับแสงอย่าง เดียวและจะส่งค่าที่ได้ออกมาให้วงจร ทำหน้าที่แปลงสญญาณอีกทีCMOS มี resolution มากกว่า CCD แต่เป็นเพียงแค่ Specification เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ภาพที่ได้จาก ชิป CMOS จะไม่ค่อยชัดเท่ากับชิป CCD และถ้าในที่ที่มีแสงน้อย ภาพจะไม่ ค่อยชัดเจน
CHIPSIZE
ขนาดของ CHIP ยิ่งใหญ่จะยิ่งดี เนื่องจากมีพื้นที่ในการรับแสงมากจะได้ภาพคมชัด ซึ่งจะมีราคาแพง ขนาดของ CHIP แบ่งเป็น
1/2” ไมขาย เพราะมีราคาแพงมาก, แม้ว่าขนาดของ chip จะใหญ่ดีแต่ราคาแพง
1/3” กล้องสีบางรุ่นใช้ชิป1/3” มีราคาแพงกว่าชิป1/4”แต่ได้มุมภาพที่กว้างกว่าชิป1/4”
1/4”กล้องสีทั่วไปที่เราขายส่วนใหญเป็นชิป1/4”
– ชิปที่มีขนาดใหญ่จะให้ภาพละเอียดและมุมภาพกว้างขึ้นกว่าชิปที่มีขนาดเล็ก
– เลนส์จะต้องสรางภาพที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับชิป หากชิปมีขนาดใหญ่เลนส์ก็ยิ่งแพง
– เลนส์ที่ทําสําหรับใช้กับชิปขนาด 1/2” จะสามารถใช้กับชิปขนาด 1/2”,1/3”และ1/4” ได้
– เลนส์ของเราทำสําหรับใช้ชิปขนาด 1/3”ซึ่งสามารถใช้กับชิปขนาด1/3” และ1/4”ได้
– กล้องขาว-ดําทุกรุ่นที่เราขายมีขนาดชิป1/3”เพราะมีราคาถูกอยู่แล้ว
ชนิดของเลนส์
– แบ่งตามรูปร่างของเลนส์
Board Lens:เป็นเล็นส์ตัวเล็ก ที่มีหน้ากว้าง ตัวเลนส์โดยทั่วไปมีขนาดตั้งแต่ 2 mm.จนถึง 50 mm.
Pinhole Lens: เป็นเล็นส์รููเข็มมีขนาดรูเล็นส์เล็ก ใช้เมื่อต้องการซ่อนกล้อง โดยทั่วไปมีขนาด 3.6 mm
ตัวอย่าง กล้องที่ใช้เลนส์รูเข็มC(s)‐Mount lens : เป็น Standard type ที่ี่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งโดยทั่วไปมีขนาดตั้งแต่ 2 mm.
จนถึง25 mm. โดย C-Mount เป็นเลนส์ที่มีฐานเลนส์สั้นต้องต่อ C-ring เข้าไปก่อนจึงประกอบกับกล้องได้
ตัวอย่างเลนส์ C‐Mount กับแหวนรอง C‐Ring
CS‐Mount: ระยะห่างระหว่างเซ็นเซอร์และเลนส์ควรจะเป็น 12.5 มม.
C‐Mount: ระยะห่างระหว่างเซ็นเซอร์และเลนส์ควรจะเป็น 17.5 มม.
แหวนแปลง(ระยะห่าง 5มม.) จะถูกใช้เพื่อเปลี่ยนเลนส์ C-Mount เป็น CS-Mount
-แบ่งตาม IRIS (เลนส์ชนิดปรับแสง)
โดยปกติแล้วตัวกล้องจะสามารถปรับแสงได้เอง เมื่อมีปริมาณแสงมากหรือน้อยโดยใช้ Electronic Shutter แต่จะอาจปรับแสงได้ ไม่ดี นักในสถานที่ที่มีแสงจ้ามากๆ หรือมีแสงเปลี่ยนแปลงมาก เลนส์ ชนิดพิเศษที่ช่วยปรับแสง ที่ผ่านมายังเลนส์ คือ ManuaI IRIS LENS และ AutoIris Lens
– ในการใช้งานกล้องและเลนส์จะต้องเป็น drive ชนิดเดียวกันจึงจะทํางานได้ซึ่ง่กล้องส่วนใหญ่สามารถเลือกใช้กับเลนส์ได้ทั้ง 2 แบบ คือ d-drive หรือ v-drive
– Electronic Shutter เป็นการปรับแสงด้วยวงจรภายในกล้อง ส่วน AUTOIRIS เป็นการส่งสัญญาณปรับ shutter ของเลนส์โดยตรง
– ควรใช้เลนส์ Auto Iris สําหรับการติดตั้งภายนอกอาคารซึ่ง Iris จะปรับปริมาณแสงที่เขามายัง กล้องโดยอัตโนมติจืงทำให้ได้ภาพที่สวยงามและเลนส Iris จะช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจจะ เกิดขึ้นกับเซนเซอร์จากการที่ได้รับแสงอาทิตย์มากจนเกินไปด้วย
ระยะโฟกัสของเลนส์
เลนส์แบ่งตามการปรับระยะโฟกัสมี 3 ชนิดหลัก ๆ คือ
Monofocal : ระยะโฟกัสจะถูกกําหนดไว้ตายตัวจะเปลี่ยนไม่ได้ เช่น 4 มม.
Zoom : สามารถปรับระยะโฟกัสได้ ภายในช่วงที่กําหนดไว้ เช่น 2.8-12 มม.และเมื่อเปลี่ยนระยะ โฟกัสแล้วจุุดรวมแสง ของเลนส์จะยังคงอยู่
Vari‐focalZoom : เมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัสเลนส์ จะต้องถูกปรับจุดรวมแสงใหม่ ซึ่งชนิดที่ใช้กำหนดทั่วไป คือขนาด 3.5-8 มม.
– ระยะโฟกัสกับขนาดของเซ็นเซอร์จะให้มุมในการมองเห็นที่แตกต่างกัน
– เลนส์ระยะโฟกัสน้อยจะให้มุมที่กว้างกว่าระยะโฟกัสมาก และมองเห็นชัด สําหรับระยะใกล้ๆ
– ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างมากๆเช่น 2 mm จะเริ่มเห็นภาพเป็นเส้นโค้งๆ
– เลนส์มาตรฐานที่ให้ไปกับตัวกล้องเป็นเลนส์ขนาด 4 mm ซึ่งได้มุมที่กว้างพอสมควร
– เลนส์ขนาดเดียวกันหากใช้กับ CHIP ขนาด 1/3″ ก็จะมองเห็นมุมที่กว่างกว่าใช้ CHIP ขนาด 1/4″ นิดหน่อย
เทคนิคการเลือกใช้ขนาดของเลนส์
- 2 mm เป็นเลนส์มุมกว้างที่สุดเหมาะกับการใช้มองในมุมกว้างระยะใกล้ เช่นในลิฟต์
- 8 mm เป็นเลนส์มุมแคบหน่อยเหมาะกับการใชมองในที่ทางแคบๆเช่น ทางเดินในอพาร์ทเมนท์ ซึ่งไม่จําเป็นที่จะต้องมองภาพในมุมกว้างเพราะจะเห็นแต่กําแพง
- 25 mm เป็นเลนส์ที่ใช้สําหรับมองในระยะไกลหรือ ต้องการโฟกัสสิ่งของสําคัญเป็นจุดๆ
- ตัวอย่างการใช้เลนส์ มุมกว้างมาก เช่น 2 mm ในการดูภาพใน Lift
ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมกว้างมาตรฐาน เช่น 3.6 mm หรือ 4 mm ในการดูทั่วทั้งพื้นที่
ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมแคบเช่น 8 mm หรือ 12 mm ในการดูบริเวณทางเดิน
ตัวอย่างการใช้เลนส์มุมแคบมากๆ เช่น 25 mm,50 mm ในการดูภาพเฉพาะที่สนใจ เป็นจุดๆ
หัวต่อ Jack (Connector)
- หัวต่อแบบ RCAโดยทั่วไปโทรทัศนและวิดีโอ (VCR)จะเป็นหัวต่อแบบ RCA ตัวอย่างสาย AV ที่ใช้หัวต่อแบบ RCA
- หัวต่อแบบ BNC โดยทั่วไปตัวกล้องและชุดควบคุม จะเป็นหัวต่อสัญญาณภาพแบบ BNC
แจ็คแปลง (Jack Adapter)
- แจ็คแปลง RCA – BNC
- แจ็คแปลง BNC – RCA
การจ่ายไฟเลี้ยง
กระแสไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ชนิด คือกระแสตรง(DC) และกระแสสลับ(AC) โดยกระแสไฟฟ้าที่ส่งมาตามบ้านเป็นแบบAC/220V แต่อุปกรณ์กล้องส่วนใหญ่ จะต้องการไฟเลี้ยงชนิด DC ที่ปริมาณไฟต่างๆกันดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้adapter (หม้อแปลง) ให้เหมาะสมการ
อ่าน spec ของ adapter ให้ดูที่ output ว่าแปลงไฟเป็น AC หรือ DC กี่โวลต์และปริมาณไฟกี่ Amp
พื้นฐาน SPECIFICATION
1. COLOR แบ่งเป็น 2 ชนิดคือกล้องสีและกล้องขาว-ดําประเทศไทยและประเทศในแถบยุโรป ใช้ระบบภาพ ดังนี้
– ภาพสี ใช้ระบบภาพ PAL
– ภาพขาว-ดําใช้ระบบภาพ CCIR
ประเทศอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ใช้ระบบภาพดังนี้
– ภาพสีใช้ระบบภาพ NTSC
– ภาพขาว-ดําใช้ระบบภาพ EIA
2. CHIP TYPE มี 2 ชนิดคือ CCD และ CMOS
3. RESOLUTION มีหน่วยเป็น pixels (pixel คือจํานวนจุดที่ประกอบกันขึ้นเป็นภาพยิ่งมีpixelมากภาพก็จะยิ่งละเอียดและมคีวามคมชัดสูง) ตัวอย่าง
กล้อง FK-999Y มีความละเอียด 752(H) x 582(V) Pixels = 437,664pixels
กล้อง FK-585 มีความละเอียด512(H)x 582(V)Pixels= 297,984pixels
4. TVLINES เป็นตัวที่แสดงความละเอียดของภาพบนจอโทรทศน์ ซึ่งกําหนดเป็นเส้นตามแนวนอนโดย ปกติโทรทัศน์จะมี TV LINES 380 เส็น ตัวอย่าง
กล้อง FK-999Y มีความละเอียด 540 TV LINES
กล้อง FK-585 มีความละเอียด 420TV LINES
การใช้กล้องที่มี TV LINES สูงๆควรจะใช้คู่กับโทรทัศน์วงจรปิดโดยเฉพาะ (CCTVMonitor) เพราะ
โทรทัศน์ทั่วไปแสดงรายละเอียดจํานวนเส้น TV LINES ที่ 380 TV LINES เท่านั้น
5. LUX at F-STOP ความชัดลึกของภาพ
LUX คือหน่วยที่ใช้ วัดปริมาณแสง (เช่น 0.005/1/2/4/5Lux)โดยใน spec ของกล้องจะระบุปริมาณแสงที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่จะได้ภาพที่ชัดเจน
F-STOP เป็นคุณสมบัติของตัวเลนส์เอง ซึ่งเทียบได้กับความหนาของเลนส์ (มี F 1.2/ F1.4 / F2.0) ซึ่งถ้า F-stop น้อยเปรียบเทียบได้กับเลนส์ บางแสงจงผานได้ดี ส่วน F-stop มากเทียบได้กับเลนส์หนาแสงจะผ่านได้ไม่ดี (เลนส์1.2เป็นเลนส์กระจกใช็งานได้ดี ผลิตในญี่ปุ่น
ส่วนเลนส์ F2.0 เป็นเล็นส์พลาสติก ผลิตในเกาหลี) ส่วนใหญ่เลนส์ Manual Iris และเลนส์ Auto Iris จะเป็นเลนส์ดีประเภท F1.2 และ F1.4 ตัวอย่าง 0.5 Lux at F1.2 หมายความว่ากล้องต้องใช้ปริมาณแสง 0.5Lux (หรือมากกว่า) เมื่อใช้กับ เลนส์ F1.2 ในการที่จะได้ภาพชัดเจนซึ่งแน่นอนว่าหากใช้กับเลนส์ F2.0 ก็จะต้องการปริมาณแสงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะต้องการแสง 2 Lux หรือ 4 Lux เลยก็ได
6.AUTO WHITE BALANCE (AWB) เป็นการปรับสีอัตโนมัติซึ่งเป็น spec ของกล้องสีเท่านั้นโดยปกติ กล้องสีเกือบทุกรุ่นจะมี AUTO WHITE BALANCE อยู่แล้ว
7.SIZE & WEIGHT สําหรับกล้องจิ๋ว ที่มีลักษณะพิเศษคือขนาดเล็กหรือน้ําหนักเบาจะมีการระบุขนาด ของกล้องไว้ด้วย เช่น 17mm*17mm, LightWeight
8. Auto Electronic Shutter (A.E.S.) กล้องสีทุกรุ่นมีฟังก์ชั่นนี้อยู่แล้ว เป็นฟังก์ชั่นในการปรับแสงอัตโนมัติของแผงวงจรกล้องโดยสามารถทดสอบได้ด้วยการส่องกล้องไปในที่ที่มืดหน่อย ภาพจะถูกปรับให้กลับมาสว่าง แต่ถ้าส่องกล้องไปยังที่สว่างๆ ภาพจะถูกปรับให้มืดลง ปกติ ฟังก์ชันนี้เหมาะสมอยู่แล้วถือว่าฟังก์ชันนี้จะเป็นฟังก์ ชั่นมาตรฐานของกล้องทุกตัว ซึ่งฟันก์ชั่นนี้เหมาะสมอยู่แล้ว สําหรับสถานที่ที่จําเป็นต้องส่องกล้องย้อนแสงเช่น ร้านทองที่ต้องการส่องกล้องมองลูกค้าย้อนไปทางด้านหน้าร้าน ฟังก์ชั่น A.E.S. อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานย้อนแสงเพราะภาพที่เห็นบนจอโทรทัศน์ จะเห็นหน้าคนมืดๆ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพมีแสงเขามามาก ตัวกล้องจึงปรับลดแสงลงจนหน้าคนมืดไป
ตัวอย่างภาพที่ส่องกล้องย้อนแสงออกไปด้านนอกร้านซึ่งกล้องทั่วไปจะเห็นภาพมืด(เพราะฟังก์ชัน A.E.S.ช่วยปรับแสงอัตโนมัติ)
วิธีการแก้ไขมี 2 ทางคือพยายามกดมุมกล้องลงต่ำหรือหันมุมกล้องไปในทิศทางที่หลบแสง หรือไม่สู้แสงแต่ ถ้าจําเป็นต้องหมุนกล้องไปในทิศทางที่ย้อนแสงให้เลือกกล้องรุ่นที่สามารถย้อนแสงได้
ความสว่าง (Illumination) คุณสมบัติของอุปกรณ์รับภาพของกล้องนั้นไม่ใช้มีผลเฉพาะต่อความไวที่มีอยู่ ต่อแสงสว่างเท่านั้น แต่ยังมีผล
ต่อสีของวัตถุอีกด้วย คุณภาพของภาพที่ดีจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของแสงที่ฉากรับภาพ ในกรณีของกล้องสีต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสี (Color Temperature) ที่ได้ จากแสงสว่างรวมกันกับ แหล่งกําเนิดแสงทั่วๆไป เพราะประกอบดวยแสงสีชนิดต่างๆ รวมกัน และแสงบริเวณรอบ ๆ
กล้องจับภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทําให้ แสงไม่คงที่เสมอไป การกําหนดค่าความสว่างของกล้อง(หน่วยเป็นลักซ์)นั้นต้องคํานึงถึงความสว่างของพึ้นที่กล้องจับภาพ,การสะท้อนของแสงที่ฉากรับภาพ,ระยะห่างของวัตถุฉากรับภาพถึงตัวกล้อง ซึ่งทําให้อัตราการสูญเสียของแสงที่หายไปรวมถึงการเลือกใช้ชนิดของเลนส์เป็นองค์ประกอบการพิจารณาด้วยโดยทั่วไปกล้อง CCD สามารถแบ่งตามคุณสมบัติของความสว่างได้ 3 ระดับคือ
กล้องที่ใช้ในกิจการทั่วไปต้องการความสว่างตั้งแต่ 5-2,000 Lux
กล้องที่ใช้ในกิจการความปลอดภัยสูงต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.1-5Lux
กล้องที่ใช้ในกิจการพิเศษโดยเฉพาะอย่าง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.0001-0.1 Lux
กล้องที่สามารถย้อนแสงได้ จะมีปุ่มผลักดานหลังกล้องเพื่อตัดการทํางานของฟังก์ชัน AES ทิ้งไปโดย กลายเป็นการใช็งานฟังก์
ชั่น Back Light Compensation (BLC) แทนซึ่งการใช้งานฟังก์ชัน BLC เมื่อท่านส่องกล้องยอนแสงไปในที่ที่มีแสงมากๆ แทนที่ภาพจะถูกปรับให้มืดลง ภาพจะยังคงสว่างอยู่ (หรือบางรุ่น จะเพิ่มแสงใหกับภาพอีก) ทําให้ภาพหน้าคนตรงกลางภาพสว่างขึ้นมา (ภาพ Background ด้านหลัง จะสว่างมาก ซึ่งปกติก็จะไม่สนใจ Background ด้านหลังอยู่แล้ว)
9. BACK LIGHT COMPENSATION(BLC) และAUTO GAIN CONTROL (AGC)
การส่องกล้องย้อนแสงแล้วใช้ฟังก์ชัน B.L.C.ฟังก์ชันนี้จะช่วย boost แสงขึ้นมาที่ด้านหน้าตรงกลางภาพ ทําให้มองเห็นภาพ บริเวณ ด้านหน้าได้ชัดเจน ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะสว่างมากจนดูไม่รู้เรื่องเลย การใช้ B.L.C mode เหมาะกับการใช้ในร้านขายทอง ที่ติดกล้องหันไปทางด้านนอกร้านและเน้นภาพชัดเจน บริเวณด้านหน้าของภาพ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ภายในร้าน
ฟังก์ชัน AGC จะช่วยในการเฉลี่ยแสงของภาพโดยรวมให้ดีขึ้น คือภาพทั้งภาพ จะดีเป็นธรรมชาติ มากขึ้นไม่ได้เน้นเฉพาะจุดที่ด้านหน้าภาพเหมือน BLC
10. Auto Iris
กล้องใดระบุ SPEC ว่ามี Auto Iris หมายถึงกล้องนั้น Support ที่จะใช้งานคู่กับเลนส์แบบ Auto Irisได้ เลนส์ Auto Iris มี 2 แบบคือ แบบ Video Drive และ DC Drive ซึ่งเลนส์ Auto Iris ทั้ง 2 แบบจะมี สายสัญญาณ4 เส้น ที่จะต้องต่อเข้ากับตัวกล้อง ซึ่งเฉพาะกล้องที่มีหัวต่อ Auto Iris เท่านั้น จึงจะใช้งานคู่กับเลนส์ Auto Iris ได้
กล้องบางรุ่น Support เลนส์ Auto Iris ทั้งแบบ Video Drive และ DC Drive ซึ่งกล้องประเภทนั้น จะมีปุ่มสวิทซ์ให้ผลักเลื่อกระหว่าง Video Drive และ DC Drive
Video Drive แบบสัญญาณภาพ ( Video Type ) กล้องวงจรปิดจะจ่ายไฟฟ้าไปให้เลนส์ในลักษณะของสัญญาณภาพ โดยจะมีความ
เข็มของสัญญาณภาพแตกต่างกันไป เลนส์ที่ใช้กับกล้องที่จ่ายไฟฟ้าแบบนี้ต้องมีวงจรขยาย (Amplifier) เพื่อเปลี่ยนความเข็มของสัญญาณภาพเป็นไฟฟ้าเพื่อให้อุปกรณ์ กัลวานอมิเตอร์(Galvanometer) โดยทํา หน้าที่คล้ายมอเตอร์ทํางานเพื่อปรับให้ม่านแสงเปลี่ยนขนาดใหญ่-เล็ก ตามแสงภาพในรูปแบบความเข็มของสัญญาณภาพโดยจะมีสายต่อเข้ากับกล้อง
DC Drive แบบไฟตรง (DC Type) กล้องวงจรปิดจะมีวงจรไฟฟ้าจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กับเลนส์โดยตรงเลนส์ที่ใช้กับกล้องแบบนี้จะไม่มีวงจรขยายการเปลี่ยนแปลงขนาดของม่านแสงจะทํางานไปตามการเปลี่ยนแปลงของไฟฟ้าซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงขนาด
ของม่านแสงที่ได้จากการทํางานของกล้องเลนส์ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีสายพร้อมปลั๊ก 4 Pin เพื่อต่อกับกล้อง
11. WATERPROOF
จะระบุใน spec สําหรับกล้องพิเศษที่กันน้ําได้,สามารถนําไปติดตั้งภายนอกอาคารโดนฝนได้
กล้องบางรุ่น ออกแบบมาสําหรับจุ่มน้ำได้ นั่นคือสามารถติดกล้องใต้น้ำในระยะ 30 เมตรได้ ซึ่งเรียกว่ากล้อง Special ประเภท Submersible Camera
12. MICROPHONE(Mic.)
กล้องที่ระบุ Mic.จะเป็นกล้องที่มี microphone ในตัวและจะมีช่องสัญญาณ AUDIO OUT ด้วย
(ซึ่งบางครั้งหากกล้องที่ติดตั้งอยู่ห่างไกลจากเสียงที่ต้องการอัดก็สามารถซื้อ microphone แยกอัดเฉพาะเสียงอย่างเดียวได้เช่น microphone จิ๋วความไวสูงรุ่น MS-3000/ MS-6000)
13. INFRARED
แสงสีขาวเป็นแสงที่คนเราสามารถมองเห็นได้ ประกอบไปด้วย สี7สี โดยแสงที่มีความถี่สูงหรือต่ํากว่านี้จัดเป็นแสงที่คนเรามองไม่เห็นเลนส์ปกติจะมีสารเคลือบกันแสง Infrared เพื่อไม่ให้แสง infrared ผ่านได้และภายในตัวกล้องก็จะมี filter ทำหน้าที่กรองแสง infrared นี้ออกไปอีกด้วย เพราะกล้องสีจะให้ภาพสีสวยสุดเมื่อไม่มีแสง infrared มารบกวน ตามธรรมดาแล้วแสงที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นแสงสีขาว (ประกอบด้วย7 สี) และสามารถมองเห็นได้โดยแสงจะไปกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมายังเลนส์แล้วตกยังฉากรับภาพ,แต่ในสถานที่ที่มีปริมาณแสงน้อย (ที่มืด) กล้อง infrared จะทําหน้าที่ปล่อยแสง infrared ไปกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมายังเลนส์ ดังนั้นเลนส์ ที่ใช้จึงต้องเป็นเลนส์ชนิดที่ยอมให้แสง infrared ผ่านได้ (UNCOATED ) และตัวกล้องเอง จะต้องไม่มี filter ด้วย (กล้องชนิดนั้นจะเรียกว่า IR Camera)
สายสัญญาณ
- สาย RG6,RG59
– RG6 ระยะสายไกลสุด 450M
– RG59 ระยะสายไกลสุด 350M
– หัว BNC
– สาย LAN UTP cat5e ใช้สําหรับ IP Camera และเครื่องบันทึก
อุปกรณ์เสริมกล้องวงจรปิด
ในการติดตั้งกล้องวงจรปิดชนิดมาตราฐานหรือ BoxCamera หรือกล้องวงจรปิดชนิดอื่นๆนอกจากเลนส์แล้วต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมในการติดตั้งชุดขายึดกล้อง
ชนิดและการทำงานของกล้องวงจรปิด
เครื่องบันทึกภาพของระบบกล้องโทรทัศนวงจรปิด พัฒนาให้มีความทันสมัยเรื่อยๆมา จากการบันทึกอนาล็อกเก็บภาพบันทึกลงบน
เส้นเทปแถบแม่เหล็กมาสู่การบันทึกข้อมูลภาพแบบดิจตอลมาไว้ที่ ฮาร์ดสิก์ ที่เรียกว่า DVR (DigitalVideoRecorder) ทําให้สามารถ
ใช้งานได้ง่ายต่อทุกๆเหตุการณ์
เครื่องบันทึกภาพมีกี่ประเภท? เราเหมาะกับแบบไหน? ในปัจจุบันนี DVRแยกเป็น 2 แบบด้วยกัน
1. ระบบการบันทึกด้วยเครื่องบันทึกภาพดิจิตอล (Stand-alone Digital Video Recorder:DVR)
เครื่องบันทึกชนิดนี้จะรวมส่วนของ Video Processor และส่วนบันทึก Recorder ไว้ในเครื่องเดียวกัน โดยมากจะเป็นแบบมัลติเพ็ลกเซอร์มีจํานวนช่องสญญาณ 4, 8และ16 ช่องตามความต้องการของผู้ใช้ และบันทึกภาพลงสู่ฮารดิดสก์ ซึ่งชนิดและขนาดของฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SATA และ IDE แล้วการบันทึก ของระบบนั้นแยกตามระบบไฟล์การบันทึกอีก 3 ประเภท ดังนี้
1.1 ระบบการบันทึกแบบ MJPEG ภาพที่ได้จะมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่จึงทําให้ภาพคมชัด
1.2 ระบบการบันทึกแบบ MJPEG-4 เนื่องจากว่ารูปแบบของไฟล์ที่ได้จะมีการบีบอัดให้ข้อมูลมีขนาดที่เล็กลง ซึ่งก็ทําให้บันทึกภาพให้ยาวนานได้มากยิ่งขึ้นข้อเสียของมันคือขอบภาพของวัตถุที่ เคลื่อนไหวในภาพ จะไม่คมชัดครบเนื่องจากจากคุณสมบัติิชนิดของไฟล์ MPEG4 เอง
1.3 ระบบการบันทึกแบบ H.264 การบันทึกแบบนี้เป็นมาตราฐานใหม่ภาพที่บันทึกได้ มีความละเอียดมากกว่าเดิมทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงแล้วยังประหยัดพื้นที่ฮารดดิสก์ด้วย
2. ระบบการบันทึกด้ววยคอมพิวเตอร์ (Computer Based Advance DVR: PC Base)
เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพที่ต้องใช้ Computer เข้ามาช่วยในการทํางานแล้วสามารถติดต่อเข้ากับระบบ เครือข่ายเช่น LAN, WAL,PATN, ADSL เป็นต้นทําให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถทําการ Remote เข้าสู้ ระบบได้โดยที่เมื่อทําการบันทึกภาพข้อมูลที่บันทึกก็จะบันทึกลงใน Hard Disk ของComputer ระบบ PC-BASE นี้จะมีเสถียรภาพในการใช้งานด้อยกว่าแบบ StandAlone เพราะระบบPC-BASEนั้นต้องอาศัยความสามารถของ Computer ทั้ง Hard WareและSoft Wareที่จำ
เป็นจะต้อง Support กับตัวอุปกรณ์และมี Spec ของComputer ที่สูงพอสมควร
การติดตั้ง CCTV จำเป็นต้องใช้ความรู้มั้ย
การเลือกอุปกรณ์ติดตั้งระบบกล้องวงจรูปดีไม่ดีหรือผู้ติดตั้งความรู้ไม่เพียงพอ อาจจะทําให้กล้องอย่างดีเหลือความคมชัดเพียงครึ่งเดียว ทําให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานสั้น แถมยังทําให้เกิดปัญหาหลายประการจนถึงขั้นเกิดเพลิงไหมขึ้นได้อาจเพราะเพียงความไม่รู้ความพยายามลดต้นทุน ความมักง่ายจะทําให้เกิดความเสียหายเหล่านี้ขึ้นได้
1.การเลือกสายสัญญาณส่งสัญญาณภาพ ( Video Signal ) จากกล้องไปยังเครื่องบนทึก ปกติใช้สาย RG‐6U มาตรฐานสูง
ราคาเมตรละ 15 ถึง 25 บาท แต่หากไปเลือกสายอากาศทีวีหรือเคเบิ้ลทีวีราคาเมตรละ 5 ถึง 10 บาท สัญญาณภาพจะสูญเสียในสายมากสายสัญญาณแบบ RG‐6U เป็นสายโคแอคเชียล ที่มีตัวนำ 2 ชั้น ตัวนําชั้นนอกจะเป็นลวดใหญ่สม่ําเสมอถักหุ้มอย่างแน่นสามารถป้องกันการรบกวนได้ถึง 95% แต่สายราคาถูกชั้นนอกจะเป็นลวดเส้นฝอยละเอียดถักแบบหลวมๆ ป้องกันสัญญาณรบกวนไม่ดี ปัญหานี้ได้เกิดขึ้นและกับบ้านราคาแพงมีเฟอร์นเจอรแบบ Build‐in หลายแห่งที่ไม่สามารถเปลี่ยน สายที่มีคุณภาพต่ำออก เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายแก้ไขสูงมาก เพราะต้องรื้อเฟอร์นิเจอร์ออกเกือบหมด
2. ช่างเดินสายของระบบบางราย ขาดความรู้ในเรื่องการเดินสายกล้องวงจรปิดซึ่งในปัจจุบัน กล้องส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้า DC 12V จึงต้องใช้หม้อแปลงไฟจาก AC 220V เป็น DC 12V เมื่อมีการจ่ายไฟจากศูนย์กลางไปแต่ละกล้องจึงจําเป็นต้องมีการวางแผนออกแบบว่าจะเลือกวางหม้อแปลงไฟไว้ใกล้ ศูนย์กลางหรือวางไว้ใกล้ตัวกล้อง ช่างบางรายไม่รู้ว่าทั้งสองทางเลือกนี้ต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันมาก บางคนคิดว่าสายไฟ AC 220V ที่เตรียมมาไว้เพื่อนํามาใช้กับไฟเพียง DC12V คงไม่มีปัญหาเพราะแรงดันไฟฟ้าต่ำไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่า แรงดันไฟฟ้าที่ต่ำจะทําให้กระแสไฟฟ้าไหลเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า ถ้าหากสายไฟที่เตรียมมาติดตัดมีขนาดเล็กเกินไป อาจจะทำให้สายไฟร้อนฉนวนละลาย เกิดไฟ ไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟลุกไหมขึ้นได้
3. สําหรับสถานทีที่ี่มีฝ้าปิดตายไม่สามารถนําหม้อแปลงไปเก็บไว้ใต้ฝ้าได้ หากจะติดไว้กับเพดานก็ดูไม่สวยงาม จำเป็นต้องใช้หม้อแปลงรวมขนาดใหญจายไฟ DC 12V ให้กับทุกกล้องแต่ถ้าหากบางกล้องมีการติดตั้งไกลมากแรงดันไฟฟ้าปลายทางจะตกไม่ถึง 12V ต้องปรับหม้อแปลงรวมแบบให้แรงสูงขึ้น อาจถึง16-17 V เป็นผลให้กล้องที่ติดตั้งอยู่ใกล้ รับไฟฟ้าสูงเกินไปอาจจะมีอายุการใช้งานสั้นลง หรือกรณีหม้อแปลงรวมการเดินสายโดยไม่คํานึงถึงความสมดุล( Load Balance ) เช่น สายเมนเส้นหนึ่งจ่ายไฟให้กล้องวงจรปิ 4 กล้องในขณะที่อีกสายหนึ่งจ่าไฟให้กล้อวงจรปิด 12 กล้อก็จะทําให้เกิดปัญหาขึ้นเช่นดียวกัน
4.ในกรณีที่มีการเดินสายสัญญาณผ่านไปเข้าในโรงงานที่มีเครื่องจักกรกลหรือ มอเตอร์ไฟฟ้าเต็มโรงงาน จะมีสนามแม่เหล็กเข้ามารบกวนสัญญาณของกล้องวงจรปิดจึงจําเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการลดสัญญาณรบกวนหรืออุปกรณ์แปลงสัญญาณภาพจากกล้องที่เป็นอนาล็อก ให้เป็นสัญญาณทางดิจิตอล ส่งทางสายสัญญาณ ผ่าเครื่องจักรมอเตอร์ไฟฟ้าต่างๆ ของโรงงานไปถึงยังติดตั้งเครื่องบันทึกภาพกล้องวงจรปิด แล้วจึงทำการเปลี่ยนแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับเป็นสัญญาณภาพอนาล็อกเข้าที่เครื่องบันทึกภาพจากกล้องวงจรูปก็จะทำให้ได้ภาพที่ชัดเจน
5.ในการเดินสายสัญญาณกล้องวงจรปิดที่มีระยะทางเกินกว่า 1 กิโลเมตร ไม่เกิน 2.4 กิโลเมตร ส่วนใหญ่คิดว่าต้องใช้การส่งสัญญาณ ด้วย Fiber Optic ซึ่งจะทําให้ระบบมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันอุปกรณ์ระบบสามารถแปลงค่าเป็น ดิจิิตอลสามารถใช้สาย RG‐6U ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังกล้องที่อยู่ห่างถึง 2 กิโลเมตรและรับสัญญาณภาพที่ชัดเจนจากกล้องแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลกลับมายังเครื่องบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิด นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีสามารถใช้สายแบบ UTP (สาย LAN) ร่วมกับอุปกรณ์Convertor ทำให้สามารถใช้สาย UTP หนึ่งเส้นแทนสัญญาณกล้องแบบโคแอคเชียล RG‐6U ได้ถึง 4 เส้น ส่งภาพไปได้ไกลถึง 2.4 กิโลเมตรซงึ่จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงมากมาย และภาพที่เป็นแบบดิจิตอล ยังมีความชัดเจนและทนทานต่อการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า